ประวัติขนมไทย
ขนมไทยนั้นเกิดมีมานานแล้วตั้งแต่ประเทศไทยยังเป็นสยามประเทศ
ซึ่งสมัยนั้นได้ติดต่อ ค้าขายกับต่างชาติ
โดยมีการแลกเปลี่ยนติดต่อกันทั้งทางด้านสินค้าและวัฒนธรรม ขนมไทยในยุคแรกๆ
เป็นเพียงนำข้าวไปตำหรือโม่ให้ได้แป้ง และนำไปผสมกับน้ำตาล หรือมะพร้าว
เพื่อทำเป็นขนม แต่หลังจากการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ
วัฒนธรรมด้านอาหารของต่างชาติก็เข้ามามีอิทธิพลกับอาหารไทยมากขึ้น
ขนมก็ด้วยเช่นกัน ขนมไทย จึงมีความหลากหลายมากขึ้น
จนปัจจุบันยังยากที่จะแยกออกว่า ขนมใดคือขนมไทยแท้
ยุคที่ขนมไทยมีความหลากหลายและเฟื่องฟูที่สุดคือ
ช่วงที่สตรีชาวโปรตุเกส "มารี กีมาร์ เดอปิน่า "
ได้สมรสกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ จนได้รับการแต่งตั้งเป็น ท้ายผู้หญิงวิชาเยนทร์
ต่อมาได้บรรดาศักดิ์ เป็น " ท้าวทองกีบม้า "
โดยรับราชการในพระราชวัง
ตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" สันนิษฐานว่าชื่อตำแหน่ง ทองกีบม้า
น่าจะเพี้ยนมาจากชื่อ "ตองกีมาร์" นั้นเอง ระหว่างที่รับราชการอยู่นั้น
ท้าวทองกีบม้าได้สอนการทำขนมหวานตำรับของชาวโปรตุเกส แก่บ่าวไพร่
ขนมเหล่านั้นได้แก่ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง สังขยา หม้อแกง ฯลฯ
ซึ่งมีไข่เป็นส่วนผสมสำคัญ ต่อมามีการเผยแพร่สอนต่อกันมา จนขนมของท้าวทองกีบม้า
เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงมีคนยกย่องท้าวทองกีบม้าให้เป็น "ราชินีขนมไทย"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น