ขนมไทยภาคเหนือ

ขนมไทยภาคเหนือ

ขนมไทยภาคเหนือ

          ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
          ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้มในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมิน ทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด

ขั้นตอนและวิธีการทำขนมเทียน


ส่วนผสม

-แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
-น้ำตาลโตนด 2 ถ้วยตวง (สำหรับทำตัวแป้ง)
-น้ำตาลโตนด 1 1/2 ถ้วยตวง (สำหรับทำไส้)
-ถั่วเขียวกะเทาะเปลือกนึ่ง 2 ถ้วยตวง
-น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
-พริกไทย 1 ช้อนชา
-น้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ
-มะพร้าวขูด 2 ถ้วยตวง
-เกลือป่น 1 1/2 ช้อนชา

ขั้นตอนการทำ

1. เริ่มจากทำตัวแป้งก่อนโดย นำน้ำตาลโตนดไปเคี่ยวจนเหนียวแล้วจึงนำไปนวดกับแป้งข้าวเหนียวจนเข้ากันดี
2. เตรียมทำไส้หวาน โดยนำน้ำตาลโตนดเคี่ยวกับมะพร้าวจนแห้งจึงปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ สำหรับไส้เค็ม ให้นำน้ำมันใส่กระทะไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง จากนั้นใส่ถั่วนึ่ง, พริกไทย, เกลือและน้ำตาลทราย ผัดจนหอมและส่วนผสมเข้ากันทั่วจึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น
-แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
-น้ำตาลโตนด 2 ถ้วยตวง (สำหรับทำตัวแป้ง)
-น้ำตาลโตนด 1 1/2 ถ้วยตวง (สำหรับทำไส้)
-ถั่วเขียวกะเทาะเปลือกนึ่ง 2 ถ้วยตวง
-น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
-พริกไทย 1 ช้อนชา
-น้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ
-มะพร้าวขูด 2 ถ้วยตวง
-เกลือป่น 1 1/2 ช้อนชา

ขั้นตอนการทำ

1. เริ่มจากทำตัวแป้งก่อนโดย นำน้ำตาลโตนดไปเคี่ยวจนเหนียวแล้วจึงนำไปนวดกับแป้งข้าวเหนียวจนเข้ากันดี
2. เตรียมทำไส้หวาน โดยนำน้ำตาลโตนดเคี่ยวกับมะพร้าวจนแห้งจึงปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ สำหรับไส้เค็ม ให้นำน้ำมันใส่กระทะไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง จากนั้นใส่ถั่วนึ่ง, พริกไทย, เกลือและน้ำตาลทราย ผัดจนหอมและส่วนผสมเข้ากันทั่วจึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น

3. ห่อขนมโดยตัดใบตองเป็นแผ่นๆ เช็ดให้สะอาดและทาด้วยน้ำมันนิดหน่อย ตักแป้งใส่แล้วห่อไส้เค็มหรือไส้หวานตามชอบ  จากนั้นนำแป้งอีก ก้อนวางลงบนไส้ ห่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยม นำไปนึ่งประมาณ 30 นาทีจนสุกดี

ขั้นตอนและวิธีการทำขนมวง

ส่วนผสม

-แป้งข้าวเหนียวประมาณ ๑ กิโลกรัม กล้วยน้ำว้าสุกงอมครึ่งหวี (หรือบางแห่งใช้ฟักทองนึ่งสุกบดละเอียด) น้ำอ้อย ๕ ก้อน (หรือบางแห่งใช้น้ำตาลปี๊บ) หัวกะทิและน้ำมันพืช

วิธีทำ

๑. คลุกแป้งกับกล้วยบด (หรือฟักทองสุก) บดละเอียดให้เข้ากัน ระหว่างนี้เติมน้ำอุ่นลงไปด้วย กะให้เหนียวพอประมาณ แล้วจึงค่อยๆ ใส่หัวกะทิลงไปนวด หมักทิ้งไว้ประมาณ ๒๐ นาที
๒. ปั้นแป้งให้เป็นรูปวงแหวนขนาดเล็ก-ใหญ่ตามต้องการ
๓. ใส่น้ำมันในกะทะจนร้อนได้ที่แล้วจึงนำขนมวงที่ปั้นไว้ลงไปทอดจนเหลืองทั้งสองด้าน และตักขึ้นมาพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
๔. ละลายน้ำตาลปี๊บกับน้ำเล็กน้อยแล้วนำไปตั้งไฟ เคี่ยวจนน้ำตาลเหนียวแล้วจึงนำขนมวงที่พักไว้มาลงจุ่มเพียงด้านเดียว เมื่อน้ำตาลแห้งก็รับประทานได้
๕. ถ้าใช้น้ำอ้อยให้เคี่ยวน้ำอ้อยจนข้นแล้วนำไปเหยาะรอบๆ ขนมวงเพียงด้านใดด้านหนึ่ง รอจนน้ำอ้อยจับตัวแข็งและกรอบได้ที่ก็รับประทานได้

ขั้นและวิธีการทำข้าวต้มหัวหงอก

ส่วนผสม

          ได้แก่ ข้าวเหนียว ๑ ลิตร กล้วยน้ำว้า ๑๐ ผล มะพร้าวขูดขาว ๑/๒ กิโลกรัม น้ำตาลทราย ๑/๒ กิโลกรัม เกลือป่น ๑ ช้อนโต๊ะ และใบตองสำหรับห่อ ตองสำหรับมัด

วิธีทำ 

         นำข้าวเหนียวมาซาวน้ำ ๒ ครั้ง ฉีกใบตองกว้างพอประมาณ เช็ดให้สะอาดเตรียมไว้ กล้วยน้ำว้าปอกเปือก ผ่าซีก ตักข้าวเหนียวที่เตรียมไว้ใส่ใบตองเล็กน้อย แล้ววางกล้วยน้ำว้าที่ผ่าไว้ ๑ ซีก ตักข้าวเหนียวใส่ลงบนกล้วย เกลี่ยข้าวหุ้มกล้วยให้มิด พับใบตองเป็นรูปให้มัดได้ จากนั้นนำข้าวต้ม ๔-๕ ห่อ มารวมกัน แล้วมัดด้วยตอกหัวท้าย ใส่มัดข้าวต้มลงในหม้อ ตั้งไฟร้อน ต้มไปจนข้าวต้มสุกยกลงในการต้มข้าวนี้ บางคนจะเอาใบตองมาห่อและมัดเลียนแบบมัดข้าวต้มจริง ๆ เรียกว่า ชู้เข้าหนม (อ่าน จู้เข้าหนม) ใส่บนมัดข้าวต้มในไห เชื่อว่าจะทำให้ขนมหรือข้าวต้มสุกทั่ว
การรับประทานข้าวต้มหัวหงอก จะแกะข้าวต้มตัดเป็นท่อน ๆ ตามขวาง โรยด้วยมะพร้าวขูด ผสมน้ำตาลและเกลือป่นมากน้อยตามชอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น