เกี่ยวกับขนมไทย

เกี่ยวกับขนมไทย

          ขนมไทย เป็นของหวานที่นิยมทำและรับประทานกันในประเทศไทย สะท้อนถึงเอกลัษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติ โดยแสดงถึงความละเอียดอ่อน ความพิถีพิถัน และความปราณีตตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ จนถึงขึ้นตอนการทำอย่างกลมกลืนของศาสตร์และศิลป์ ส่งผลให้ขนมไทยโดดเด่นในด้านรสชาติที่อร่อยหอมหวาน สีสัน รูปลักษณ์ สวยงาม ชวนน่ารับประทาน เป็นที่ต้องตาต้องลิ้นแก่ผู้บริโภคทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
         
          ปัจจุบันขนมไทย สอดแทรกอย่างกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประจำชาติ มีบทบาทสำคัญในพิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานเทศกาล หรือประเพณี ที่สำคัญ อันสะท้อนถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละชุมชนได้เป็น อย่างดี นอกจากนั้นขนมไทยยังแอบซ่อนความหมายอันเป็นมงคลไว้อย่างน่า สนใจ ไม่ว่าจะเป็นงานวันเกิด งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานแต่งงาน ก็จะมีขนมไทย ความหมายดีๆ ประกอบอยู่ในพิธีอย่างขาดเสียไม่ได้ (เช่น ขนมถ้วยฟู มีความ หมายแฝงคือ การเฟื่องฟู / ขนมชั้น แสดงถึงการได้เลื่อนขึ้นชั้น เลื่อนตำแหน่ง เจริญก้าวหน้า เป็นต้น)

ขนมไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลักคือ

          1. ขนมชาววัง : เป็นขนมไทยที่ใช้ความละเมียดละไม ประดิดประดอยหลาย ขั้นตอน สูตรต้นตำหรับเกิดจากการค่านิยมที่คนสมัยก่อนมักส่งลูกหลานที่ เป็นผู้หญิงเข้าไปในวัง เพื่อถวายตัวรับใช้เจ้านายในตำหนักต่างๆ โดยมีการฝึกฝน ฝืมือด้านต่างๆอย่างวิถีของชาววัง รวมถึงการฝีกทำอาหารและขนมด้วย ขนมไทย ชาววังจึงขึ้นชื่อในเรื่องของความละเอียด ประณีต พิถีพิถันในทุกขั้นตอนของการ ทำรวมถึงการเลือกใช้วัตถุดิบ ตัวอย่างของขนมชาววังได้แก่ ขนมลูกชุบ ขนมเบื้อง วุ้นกะทิ วุ้นสังขยา ขนมไข่เหี้ย เป็นต้น
          2. ขนมชาวบ้าน (หรือขนมตามฤดูกาล) : เป็นขนมไทยที่ทำง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมาก วัตถุดิบที่ใช้ มักจะเป็นผลไม้ที่หาได้ตามฤดูกาล มักทำกันทานภายในครัวเรือน โดยเน้นทำกิน เอง เหลือก็สามารถนำไปขายได้ ตัวอย่างของขนมชาวบ้าน ได้แก่ ฟักทองเชื่อม กล้วยไข่เชื่อม กล้วยตาก เป็นต้น นอกจากผลไม้ที่หาได้ตามฤดูกาลแล้ว วัตถุดิบ หลักอื่นๆที่ใช้ก็มักจะเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย เช่นข้าวเจ้า ข้าวเหนียว มะพร้าว นำมาผสม กับน้ำตาล ทำเป็นขนมได้หลากชนิด ไม่ว่าจะเป็นขนมเปียกปูน ขนมจาก ขนมขี้หนู ตะโก้ ขนมน้ำดอกไม้ และอื่นๆอีกมากมาย สำหรับผลไม้ที่เหลือเกินรับประทาน ก็จะนำมาถนอมอาหารด้วย ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้สามารถเก็บไว้กินได้นานๆ เช่น ทุเรียนกวน มะม่วงกวน กล้วยตาก กล้วยฉาบ เป็นต้น
          3. ขนมไทยที่ใช้ในงานประเพณี และศาสนา : ขนมไทยในกลุ่มนี้จะสอดแทรกอยู่ ในงานประเพณีต่างๆ รวมถึงงานบุญทางศาสนาด้วย ตัวอย่างเช่น ในประเพณีปีใหม่ ของไทย (วันสงกรานต์) นอกจากมีการทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวแล้ว คนไทยใน สมัยโบราณนิยมทำขนม กาละแมร์ และข้าวเหนียวแดงเพื่อถวายพระและแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านอีกด้วย  นอกจากนั้น ในช่วงวันสารทไทย ก็มักจะนิยมทำขนม "กระยาสารท" เพื่อทำบุญ รำลึกถึงบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว โดยจะตักบาตรด้วยกระยาสารทที่ตัดเป็นชิ้นๆแล้ว ห่อด้วยใบตองคู่กับกล้วยไข่เป็นของแกล้มกัน
          4. ขนมไทยที่ใช้กับงานมงคล : งานมงคลต่างๆ มักจะมีขนมไทยความหมายดีๆ ประกอบอยู่ในพิธีอย่างขาดเสียมิได้ ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ โดยงานมงคลเหล่านี้มักจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ตัวอย่างขนมไทยที่ใช้ในงานมงคลได้แก่ ขนมชั้น เม็ดขนุน ขนมถ้วยฟู ขนมปุยฝ้าย เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีขนมที่มีคำว่าทองทั้งหลาย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก ทองพลุ เพื่อมีความหมายนัยว่า เงินทองจะได้ไหลมาเทมา ส่วนเม็ดขนุนก็สื่อถึงการทำภารกิจใดๆ ก็จะลุล่วงไปได้ ด้วยดี มีคนช่วยเหลือสนับสนุนให้งานสำเร็จ ขนมถ้วยฟู / ปุยฝ้าย สื่อถึงความเฟื่องฟู ส่วนในงานฉลองเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง ก็มักจะมีขนมจ่ามงกุฏ เพื่อสื่อถึงยศตำแหน่ง ที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น